วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

นโยบายจริยธรรมและจรรยาบรรณพยาบาล


ประกาศกลุ่มการพยาบาล  โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย
เรื่อง  นโยบายจริยธรรมและจรรยาบรรณพยาบาล
.............................................

          การประกาศจริยธรรมและจรรยาบรรณพยาบาล เป็นการแสดงออกถึงความตระหนักในความรับผิดชอบทางจริยธรรมของพยาบาล เพื่อเป็นหลักนำการประกอบวิชาชีพให้มีมาตรฐานสูง และเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติของพยาบาลที่ดี  ถูกต้องและเหมาะสม  สอดคล้องตรงกันทั้งกลุ่มการพยาบาล รวมทั้งเป็นการสื่อสารที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการ  ผู้ร่วมงานในวิชาชีพอื่นๆ และประชาชนทั่วไปได้ทราบถึงจรรยาบรรณที่พยาบาลยึดถือในการประกอบวิชาชีพ

วัตถุประสงค์
1.       บุคลากรพยาบาลใช้จริยธรรมและจรรยาบรรณพยาบาลเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติ
2.       จริยธรรมและจรรยาบรรณพยาบาลเป็นกรอบในการตัดสินใจในสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนหรือประเด็นที่เกี่ยวข้องด้านจริยธรรม
3.       เพื่อให้วิชาชีพพยาบาลคงฐานะได้รับการยอมรับและยกย่องจากสังคม
4.       เพื่อผดุงเกียรติยศและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพพยาบาล

นิยามคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
          จริยธรรม (Ethic)  หมายถึง  หลักความประพฤติปฏิบัติที่ดีงามของบุคคลโดยมีพื้นฐานมาจากหลักศีล
ธรรมทางศาสนา ค่านิยมทางวัฒนธรรม  ประเพณี กฎหมาย รวมถึงจรรยาบรรณของวิชาชีพ  เพื่อให้บุคคลแสดงออกในสิ่งทีดี เหมาะสม ถูกต้องอย่างมีหลักการ  โดยใช้ความรู้ สติปัญญา  เหตุผล พิจารณาไตร่ตรองว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำ เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่นและสังคม
          จรรยาบรรณวิชาชีพ  (Code of nurses)  หมายถึง  หลักแห่งความประพฤติที่ถูกต้องเหมาะสมของวิชาชีพพยาบาล

หลักจริยธรรมวิชาชีพ  6  ด้าน  ประกอบด้วย
1.       สิทธิของผู้ป่วยในการตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ (Autonomy)
-        พยาบาลได้ให้คำแนะนำให้ผู้รับบริการเข้าใจเรื่องโรค  วิธีการรักษา ข้อดีข้อเสีย ก่อนให้ผู้รับบริการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาด้วยตนเอง
2.       การกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ (Beneficence)
-        ได้จัดทำแนวทางในการลดระยะเวลาในการตรวจรักษาของผู้ป่วย เช่น On stop service  การแยกผู้ป่วยส่งตรวจ ตามคลินิกหรือตามประเภทผู้รับบริการ
-        แนวทางการดูแลผู้ป่วยล่วงละเมิดทางเพศ มีศูนย์ COC
-        ผู้สูงอายุ 70ปี ขึ้นไปจัดบริการให้มีคิวอนุเคราะห์
-        แนะนำผู้ป่วยเรื่องโรค การรักษา  การปฏิบัติตัว เพื่อให้อยู่ร่วมในสังคมได้อย่างปกติ
3.       การกระเพื่อหลีกเลี่ยงสาเหตุ หรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้น (Normal efficiency)
-        มีระบบจัดการความเสี่ยงในหน่วยงาน เพื่อให้ผู้รับบริการมีความปลอดภัย
-        มีการจัดทำห้องแยกโรคที่ หรือจัดทำZone แยกผู้ป่วยเฉพาะกิจกรณีมีการเกิดการระบาดของโรค
-        การผูก-ยึดผู้ป่วย

4.       การกระทำด้วยความซื่อสัตย์ตามพันธะสัญญาวิชาชีพ (Fidelity)
-        ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ
-        พยาบาลจะไม่เปิดเผยความลับผู้ป่วย รวมทั้งการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย
5.       การกระทำต่อผู้ป่วยและครอบครัวด้วยความยุติธรรม (Justice)
-        ให้บริการตามระบบคิว ในเรื่องการส่งการตรวจ /การจองห้องพิเศษ
-        ดูแลผู้รับบริการด้วยมาตรฐานเดียวกัน ไม่เลือกประเภทผู้รับบริการ
6.       การบอกความจริง (Veracity)  ในทางปฏิบัติการพยาบาล พยาบาลเป็นผู้หนึ่งซึ่งอยู่ในทีมการบอกความจริง มีการประเมินความพร้อมของผู้ป่วยในกรณีที่ข้อมูลบางอย่างเป็นข่าวร้ายหรือข้อมูลการเจ็บป่วย
-        มี Team counseling
-        มีระบบการแจ้งข่าวร้ายร่วมกับแพทย์
-        โครงการ Palliative care
-         
หลักจรรยาบรรณวิชาชีพ  9  ข้อ ประกอบด้วย
1.       พยาบาลรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ต้องการการพยาบาลและบริการสุขภาพ
-        มีคำสั่งแต่งตั้งหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรทางการพยาบาล
-        ดูแลจัดการเรื่องความปลอดภัย
-        จัดระบบบริการที่มีคุณภาพ
2.       พยาบาลประกอบวิชาชีพด้วยความเมตตา กรุณา เคารพในคุณค่าของชีวิต ความมีสุขภาพดีและความผาสุกของเพื่อนมนุษย์
-        กำหนดการปฐมนิเทศบุคคลากรในการส่งเสริมจรรยาบรรณ ในหลักคุณธรรม
-        มีบุคลิกภาพที่ดี
3.       พยาบาลมีปฏิสัมพันธ์ทางวิชาชีพกับผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมงาน และประชาชนด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีและสิทธิมนุษยชนของบุคคล
-        มีการประสานงานที่ดี
-        บุคลากรทางการพยาบาล ได้รับการอบรมพฤติกรรมบริการ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน
-        บุคลากรทางการพยาบาลเรียกชื่อผู้รับบริการ โดยใช้คำนำหน้าชื่อ คุณทุกคน เพื่อเป็นการให้เกียรติสำหรับผู้รับบริการ
4.       พยาบาลยึดหลักความยุติธรรม และความเสมอภาคในสังคมมนุษย์
-        มีนโยบายดูแลผู้รับบริการด้วยมาตรฐานเดียวกัน
-        ให้บริการผู้รับบริการตามคิว และแยกตามประเภทความรุนแรง
5.       พยาบาลประกอบวิชาชีพโดยมุ่งความเป็นเลิศ
-        เน้นการใช้ R2R ,
-        ผ่านการประเมินคุณภาพการบริการพยาบาล (NQA)
-        บุคลากรทางการพยาบาลมีการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะในการปฏิบัติงานเพื่อความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
-        พัฒนาคุณภาพการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง (CQI)
6.       พยาบาลพึงป้องกันอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ใช้บริการ
-        มีระบบ RM/ระบบ IC ในการดูแลผู้ใช้บริการ
7.       พยาบาลรับผิดชอบในการปฏิบัติให้สังคมเกิดความเชื่อถือ ไว้วางใจต่อพยาบาลและต่อวิชาชีพการพยาบาล
-        บุคลากรทางการพยาบาล มีบุคลิกภาพที่ดี ทั้งภายนอก/ภายใน
-        ไม่เปิดเผยความลับของผู้ป่วย
8.       พยาบาลพึงร่วมในการทำความเจริญก้าวหน้าให้แก่วิชาชีพการพยาบาล
-        อบรมวิชาการเกี่ยวข้องกับหน่วยงานปีละ 1 ครั้ง
-        เข้าร่วมกับองค์กรในการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ
9.       พยาบาลพึงรับผิดชอบต่อตนเองเช่นเดียวกับรับผิดชอบต่อผู้อื่น
-        มีวินัยในตนเอง
-        มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน


ประกาศ ณ วันที่        เดือน           พ.ศ.


                   (นางเปรมศรี  สาระทัศนานันท์)
                    พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
                        หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น