วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

สิทธิผู้ป่วย


แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิผู้ป่วยและมารยาทของพยาบาลในการสนองต่อสิทธิผู้ป่วยของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย
    สิทธิผู้ป่วย 10 ประเด็นที่ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลจะต้องทำความเข้าใจและวิเคราะห์ว่ามีบทบาทหน้าที่อะไรที่พึงปฏิบัติ พึงละเว้นและสนองตอบต่อสิทธิผู้ป่วย กลุ่มการพยาบาลจึงได้จัดทำแนวทางเพื่อพิทักษ์สิทธิของผู้ป่วย ดังนี้

ข้อ  ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
-          พยาบาลจะต้องใช้ความรู้ในวิชาชีพและวิจารณญาณในการตัดสินใจดูแลผู้ใช้บริการเป็นรายๆ ตามความเหมาะสมและรู้สิทธิพึงมีพึงได้ของผู้ใช้บริการทุกลักษณะเพื่อให้การดูแลที่ถูกต้องเหมาะสม
ข้อ  ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ เนื่องจากความแตกต่างด้านฐานะ  เชื้อชาติ สัญชาติ  ศาสนา  สังคม  ลัทธิการเมือง  เพศ  อายุ  และลักษณะของความเจ็บป่วย
-          พยาบาลจะต้องปฏิบัติต่อผู้ใช้บริการทุกรายเท่าเทียมกันอย่างสุภาพอ่อนโยน  เอื้ออาทร
-          เมื่อพบผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับสิทธิการรักษาที่ควรได้ หรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิการรักษา  ให้ส่งปรึกษาศูนย์ประกันทันที  หลังการรักษาภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน
-          หากผู้ป่วยต้องการการรักษาที่ไม่อยู่ในสิทธิตามกฎหมาย     ต้องชี้แจงและตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายก่อนการรักษา  และบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ   ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอและเข้าใจชัดเจน  จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน  เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบด่วนหรือจำเป็น
-          พยาบาลจะต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบกฎเกณฑ์ของโรงพยาบาล  ข้อมูลในการให้บริการสุขภาพ การวินิจฉัยโรค รวมทั้งข้อดีและการเสี่ยงต่ออันตรายในการบำบัดรักษา โดยคำนึงถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการบอกความจริง เพื่อการรับทราบและเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ
ข้อ   ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตมีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจำเป็นแก่กรณี  โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่
-          พยาบาลจะต้องไม่ปฏิเสธการช่วยเหลือผู้ผู้ที่อยู่ในระยะอันตรายจากการเจ็บป่วย
-          ต้องอธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงอาการของโรค      วิธีการรักษา    ผลดี   ผลเสีย     ที่อาจจะมีขึ้น
ด้วยภาษาที่ผู้ป่วยสามารถรับรู้   และตัดสินใจ พร้อมให้ลงนามยินยอมรับการรักษา ( Informed  Consent )กรณีผู้ป่วยไม่ยินยอม ไม่ร่วมมือในการรักษา  ให้ผู้ป่วยลงนามปฏิเสธการรักษา 
-          การจับยึด  มัด  แยก  ต้องระบุข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ให้ชัดเจนในเวชระเบียนและอธิบายให้ผู้ป่วยหรือญาติทราบ
ข้อ  ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบชื่อ  สกุลและประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่เป็นผู้ให้บริการแก่ตน
-          พยาบาลต้องติดป้ายชื่อ และตำแหน่ง หรือแจ้งให้ผู้รับบริการทราบทุกครั้งก่อนให้การพยาบาล

ข้อ  ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่น ที่มิได้เป็นผู้ให้บริการแก่ตน  และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการและสถานบริการได้
-          ผู้รับบริการที่ตรวจรักษากับพยาบาลแล้วหากต้องการพบแพทย์  ให้ส่งปรึกษาแพทย์
-          หากผู้ป่วยขอให้ส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น  ให้ส่งต่อตามขั้นตอนของการใช้สิทธิในระบบประกันสุขภาพ ฯ  ยกเว้นแต่ผู้ป่วยไม่ต้องการใช้สิทธิให้ส่งไปโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยต้องการ
ข้อ  ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเองจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด  เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
-          กรณีบริษัทประกันขอทราบข้อมูลของผู้ป่วยต้องมี  หนังสือยินยอมจากผู้ป่วยประกอบทุกครั้ง  และนำเอกสารข้อมูลของผู้ป่วยใส่ซองตีตรา ลับ ส่งให้บริษัทประกัน
-          พยาบาล  ต้องเคารพในศักดิ์ศรีและความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วยและมีหน้าที่ในการปกปิดความลับของผู้ป่วย
-          การเปิดเผยร่างกายของผู้ป่วย   เพื่อการตรวจวินิจฉัย รักษาพยาบาล  ต้องกระทำในที่มิดชิด  และมีเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำเป็นอยู่ด้วย
ข้อ  ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจเข้าร่วมหรือถอนตัวจากการเป็นผู้ถูกทดลองในการวิจัยของผู้ประกอบการวิชาชีพด้านสุขภาพ
-          ในกรณีจะทำวิจัยเกี่ยวกับผู้ป่วยแต่ละราย พยาบาลต้องแจ้งให้ผู้ถูกทดลองทราบ  และกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน  โปร่งใส  เพื่อให้ผู้ถูกทดลองในการวิจัยทราบและใช้ในการตัดสินใจร่วมหรือถอนตัวจากการเป็นผู้ถูกทดลอง
ข้อ  ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฎในเวช-ระเบียนเมื่อร้องขอ     ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น
-          เมื่อผู้ป่วยร้องขอประวัติในเวชระเบียน  ให้พยาบาลส่งปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล
 ข้อ  10  บิดา  มารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรมอาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์  ผู้บกพร่องทางกายหรือจิต  ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้
-          การดูแลรักษาผู้ป่วยอายุน้อยกว่า  18  ปี  ให้ขออนุญาตจากพ่อแม่ หรือผู้ปกครองโดยชอบธรรม
-          ผู้ป่วยที่เป็นโรคจิต      ปัญญาอ่อน      หรือมีภาวะสับสนไม่รู้สึกตัวต้องให้ญาติสายตรงเป็นผู้ใช้สิทธิแทน 
-          กรณีไม่มีญาตินำส่ง ให้ผู้นำชุมชนหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจร่วมรับรู้ด้วย
-          ภาวะฉุกเฉิน  เร่งด่วน ไม่อาจรอได้ให้บันทึกเหตุผลความจำเป็นไว้ในเวชระเบียนให้ชัดเจน

 ประกาศ ณ วันที่        เดือน           พ.ศ.


                                 (นางเปรมศรี  สาระทัศนานันท์)
                                  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
                                       หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น